FAMZ

ต้องเล่นบทไหน แค่ไหน อย่างไร ในเมื่อ ‘ความเป็นธรรม’ ไม่ใช่ ‘ความเท่าเทียม’

08/01/2025

 

 

 

 

 

หากจะถามว่า อะไรคือความเป็นธรรม อะไรคือความเท่าเทียม หรือ สมาชิกในครอบครัวจะได้การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างดีที่สุดได้อย่างไรที่มิได้หมายความเฉพาะถึงความมั่งคั่ง หากแต่รวมถึงโอกาสและความรับผิดชอบที่มาด้วยกัน ด้วยว่า ในที่สุดแล้วพ่อแม่ก็จะเรียนรู้ได้ว่า ความรักที่มีต่อลูกๆ อย่างเท่าเทียมกันนั้นมิได้จำเป็นว่า จะต้องหมายถึงการปฏิบัติกับลูกทุกคนเหมือนกันหมด  และนี่คือความจริงที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่มีความมั่งคั่ง

 

ยกตัวอย่าง หากว่า ลูกสาวทำงานในธุรกิจครอบครัว ขณะที่ลูกชายไม่ได้ทำงานให้กับครอบครัว แล้วพ่อแม่จะจ่ายเงินชดเชยกันอย่างไร รวมถึงความเป็นเจ้าของธุรกิจครอบครัว แผนการบริหาร/ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ และความเป็นผู้นำของครอบครัวจะต้องกำหนดกันอย่างไร โดยที่ไม่ส่งผลกระทบเชิงลบกับครอบครัวหรือธุรกิจ

 

เป็นธรรม VS เท่าเทียม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งนี้ สามผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจครอบครัวจากแคนาดา Wendy Sage -Hayward ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวอาวุโส และผู้อำนวยการด้านวิชาการ โครงการ Family Enterprise Canada, Ambreen Bhaloo ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Ambreen Bhaloo Coaching และ Chris Reichert ประธานบริษัท Reichert Family Enterprise Advisors  ได้ร่วมกันถกถึงบทบาทของทายาทในธุรกิจครอบครัว และ “อะไร” ที่คนเหล่านี้สมควรจะได้รับหรือไม่ได้รับในบทความที่เผยแพร่ผ่าน canadianfamilyoffices.com

 

ทั้งนี้ Wendy กล่าวว่า “เรามักจะสับสน และรวมสองเรื่องนี้เข้าด้วยกันอยู่เสมอ นั่นคือ “ความเป็นเจ้าของและการบริหาร” กับ “บทบาทในธุรกิจ” เพราะถ้าเรามีบทบาทในทางธุรกิจเราก็จะได้รับการแต่งตั้งด้วยตำแหน่งเป็นสิ่งตอบแทน และหวังมากๆ ด้วยว่าจะได้รับผลตอบแทนที่เกี่ยวข้องกับการทำตลาด ขณะที่สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ที่แม้จะไม่ได้ทำงานให้กับธุรกิจครอบครัวก็จะต้อง “เวิร์ค” อย่างมากเช่นกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน และการสร้างความรู้ให้กับครอบครัว”

 

 

 

สำหรับการจ่ายผลตอบแทนสำหรับสมาชิกในธุรกิจครอบครัวนั้น Sage-Hayward ได้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

  • เงินเดือน หรือการจ่ายสำหรับหน้าที่เฉพาะด้าน
  • รางวัลสำหรับผลงานที่น่ายกย่อง เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิก หรือพนักงาน
  • ผลตอบแทนจากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ค่าเช่า
  • ผลตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับสมาชิกในครอบครัว เช่น การใช้บ้านสำหรับครอบครัวหลังที่สอง

 

“เราต้องคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจได้ถึงความซับซ้อนและเห็นพ้องต้องกันว่า อะไรที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกได้ว่า นี่เป็นความยุติธรรม เพราะความยุติธรรมไม่ใช่ความเท่าเทียม ทว่า ความเท่าเทียมเป็นความยุติธรรมแบบหนึ่ง” (Fair is not equal—equal is one version of fair.)

 

 

 

 

เมื่อลูกหลานเข้ามาช่วยพ่อแม่ทำงานในธุรกิจครอบครัว ซึ่งอาจจะมีเพียงคนเดียว หรือหลายคน แต่ในความเป็นจริงก็จะมีอีกหลายคนที่ไม่ได้เข้ามาช่วยงานในธุรกิจครอบครัว ทั้งนี้ Ambreen Bhaloo ได้กล่าวถึงโมเดล 3 วงกลมของ Harvard Business School ว่า ถ้าเรายังอยากรักษาธุรกิจครอบครัวและความเป็นเจ้าของธุรกิจไว้

 

หากเราสามารถแยกวงของครอบครัว ธุรกิจ และความเป็นเจ้าของออกจากกันให้มากที่สุด เด็กที่ทำงานในธุรกิจก็จะได้รับค่าตอบแทนสำหรับงานของตนเอง สำหรับคนที่อยู่ในวงของความเป็นเจ้าของก็จะได้รับเงินปันผล ขณะที่นโยบายของครอบครัวจะกำหนดสิ่งที่ควรได้รับตามสิทธิแต่กำเนิด เช่น ของขวัญ เงินกู้ การสนับสนุนด้านการศึกษา หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

"นี่คือจุดที่ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างลูกๆ ที่ควรปรับให้เกิดความสมดุล เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร หรืออาชีพที่มีรายได้ต่ำกว่า" Ambreen กล่าว

 

แนวคิด 'เต็นท์ใหญ่' (Big Tent)

Chris ได้พัฒนาลำดับความสำคัญเกี่ยวกับประเภทของการจ่ายเงินว่า การจ่ายเงินแต่ละประเภทนั้นควรดำเนินการในลำดับใดกับหลายๆ ครอบครัวที่เป็นลูกค้า เนื่องจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะต้องการมันจริงๆ

 

พร้อมกันนี้ Chris ได้อ้างอิงแนวคิดของ Justin B. Craig ศาสตราจารย์รับเชิญด้านธุรกิจครอบครัวที่ Kellogg School of Management แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern ในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับแนวคิด 'เต็นท์ใหญ่' หรือ Big Tent ซึ่งเป็นวิธีการมองถึงวิธีการทั้งหมดที่สมาชิกครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมในขณะที่ยังคงอยู่ "ภายในเต็นท์" ของธุรกิจครอบครัว โดยคนเหล่านี้อาจจะเข้าร่วมกับทีมบริหาร, การมีบทบาทในการนำโครงการผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมในงานการกุศล การเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหาร การส่วนร่วมในสภาครอบครัว ด้วยการพัฒนาวิถีทางที่ชัดเจน เพื่อเตรียมสมาชิกครอบครัวที่มีความใฝ่ฝันให้สามารถมีส่วนร่วมได้ในวันหนึ่ง"

 

ทั้งนี้ ตัวอย่างธุรกิจครอบครัวจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้กล่าวถึงนั้นมีลักษณะเฉพาะของการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน เช่น

  • กำหนดให้คู่สมรสทุกคนมีส่วนร่วมในคณะกรรมการด้านการกุศล
  • แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดูแลและบำรุงรักษาทรัพย์สิน เช่น คอลเลกชันงานศิลปะ ฯลฯ ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
  • จัดตั้งโปรแกรม Intrapreneurship เพื่อสร้าง “ผู้ประกอบการในองค์กร” ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงการธุรกิจขนาดเล็กที่สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการ โดยบางครั้งก็อาจเป็นการสนับสนุนทางการเงิน และบางครั้งก็ช่วยเหลือผ่านการให้คำปรึกษาจากสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้ Intrapreneurshipถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผู้นำรุ่นถัดไป เนื่องจากเป็นการเปิดเวทีทดสอบที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ อีกทั้งยังอาจเป็นช่องทางให้สมาชิกครอบครัวรุ่นใหม่ได้เปิดตลาดใหม่ๆ ให้กับธุรกิจครอบครัวที่อาจถูกมองข้ามไป
  • การลงทุนในธุรกิจที่สมาชิกในครอบครัวมีความสนใจ เช่น ธุรกิจก่อสร้างที่ลงทุนซื้อกิจการบ้านพักตกปลาแบบ Fly-in เนื่องจากทราบว่า ลูกสาวและลูกเขยมีความสนใจเกี่ยวกับการตกปลา ทั้งนี้ นี่ไม่เพียงแต่ดำเนินการเป็นธุรกิจในตัวเองแล้ว แต่มีข้อได้เปรียบด้านการตลาดที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับลูกค้าและซัพพลายเออร์ของบริษัทหลักที่สืบทอดมาในปัจจุบันอีกด้วย

 

“การอัปเดตเป็นรายไตรมาสในที่ประชุมครอบครัวจะช่วยให้ครอบครัวทั้งหมดมีโอกาสได้เฉลิมฉลองความสำเร็จร่วมกัน หรือเข้ามาสนับสนุนโครงการในช่วงที่มีอุปสรรค เป็นชัยชนะและความพ่ายแพ้ที่มีมีร่วมพลัง ซึ่งจะเป็นโมเม้นท์ที่สร้างพลังขับเคลื่อนให้กับธุรกิจครอบครัวได้

 

นอกจากนี้ การอัปเดทถึงหัวข้อที่ละเอียดอ่อนที่สุดก็ยังเป็นความหวังและความคาดหวังของคนรุ่นถัดไป การบรรลุสถานการณ์ที่สมาชิกในครอบครัวทุกวัยรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันความปรารถนา เสนอและพิจารณาข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป และในที่สุดก็มาถึงการแก้ปัญหาที่ตอบสนองความพึงพอใจของฝ่ายส่วนใหญ่ในเวลาส่วนใหญ่นั้นต้องอาศัยความชำนาญ ความไว้ใจ ใจกว้าง และการมีสติที่ชัดเจน จุดสำคัญคือการพัฒนาวิถีทางที่ชัดเจนเพื่อเตรียมสมาชิกในครอบครัวที่มีความใฝ่ฝันให้สามารถมีส่วนร่วมได้ในวันหนึ่ง"

 

#ธุรกิจครอบครัว #ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจครอบครัว

#FAMZ #การสืบทอดธุรกิจ #การบริหารธุรกิจครอบครัว

#ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว #บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว

ที่มา : Levelling the playing field for heirs to the family business, whether they work there or not

https://canadianfamilyoffices.com/family-business/levelling-the-playing-field-for-heirs-to-the-family-business-whether-they-work-there-or-not/

 

related

เมื่อ “มนุษย์แม่”ต้องเล่นบท “ผู้นำ” 

รับรอง “สตรอง - สุด” เกินต้าน

14/08/2023

Read

เติบโตหรือพอแค่นี้กับผู้นำที่ชี้ชะตาธุรกิจครอบครัว

เมื่อผู้ก่อตั้งก้าวลงจากตำแหน่งการเติบโตของธุรกิจก็ชะลอตัวลงเรื่อยๆจากเลขสองหลักเหลือเพียงเลขหลักเดียว

23/03/2021

Read

ธรรมนูญครอบครัว “กาวใจ” ชั้นดีของครอบครัว

03/03/2024

Read

ผู้นำที่ “ใช่” อาจ “ไม่ใช่” คนที่คิด

29/04/2024

Read